เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

นายพรานเนื้อปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อด้วยมีความประสงค์ว่า 'ฝูงเนื้อที่เข้ามาสู่ทุ่งหญ้า
ที่เราปลูกไว้นี้แล้วจักลืมตัวกินหญ้า เมื่อเข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักเผลอตัว เมื่อ
เผลอตัวก็จักเลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็จักถูกเราทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านี้'

ฝูงเนื้อที่ถูกนายพรานจับ

[262] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาฝูงเนื้อเหล่านั้น เนื้อฝูงที่ 1 เข้าไปสู่ทุ่งหญ้า
ที่นายพรานปลูกไว้แล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว
เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบใน
ทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 1 นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อ
ไปได้
[263] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ 2 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า 'เนื้อฝูงที่ 1
ที่เข้าไปในทุ่งหญ้าของนายพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกิน
หญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ
ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 1 ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจ
ของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี เราควรงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้า
ที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า' แล้วจึงงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่องดกิน
หญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็น
เวลาที่หญ้าและน้ำหมดสิ้นแล้ว ฝูงเนื้อฝูงนั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกาย
ซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่
ทุ่งหญ้าที่นายพรานนั้นปลูกไว้อีก เนื้อฝูงนั้นพากันเข้าไปในทุ่งหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่
เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูก
นายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ 2
ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
[264] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ 3 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า 'เนื้อฝูงที่ 1
เข้าไปในทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 1 ก็ไม่รอด
พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ และเนื้อฝูงที่ 2 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :285 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

'เนื้อฝูงที่ 1 เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 1
ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดกินหญ้า
โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า' จึงงดกินหญ้า
โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือน
สุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็นเวลาที่หญ้าและน้ำหมดสิ้น เนื้อฝูงนั้นมีร่างกายซูบผอม
เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากัน
กลับมาสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้นอีก เนื้อฝูงนั้นพากันเข้าไปสู่ทุ่งหญ้านั้น
ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลิ่นเล่อ
เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้
แม้เนื้อฝูงที่ 2 นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานไปได้ ทางที่ดี พวกเรา
ควรซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นแล้วเราจะไม่เข้าไป
สู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น จักไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปแล้วไม่
ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อก็
จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น' แล้วจึงเข้าไปซุ่ม
อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้า
นั้นแล้วก็ไม่เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่
เข้าไปในทุ่งหญ้านั้นไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็ไม่เลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่อก็ไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น นายพรานเนื้อกับบริวารมีความคิดว่า 'เนื้อฝูงที่ 3
นี้เป็นสัตว์ฉลาดเหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่รู้
ทั้งทางมาและทางไปของพวกมัน ทางที่ดี พวกเราควรเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อม
รอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้นี้ บางทีเราจะพบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ 3 ในที่ซึ่งเราจะไปจับพวก
มันได้' พวกเขาจึงช่วยกันเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้นั้น
นายพรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ 3 ในที่ซึ่งเขาไปจับพวกมันได้แล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ 3 นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :286 }